Molecular Cooking Society ความสนุกของการค้นหาปรากฏการณ์ในห้องครัว

Molecular Cooking Society ความสนุกของการค้นหาปรากฏการณ์ในห้องครัว

ทุกคนรู้จักคำว่า “Molecular Gastronomy” กันไหมคะ คำนี้หมายถึงการทำอาหารที่ต้องมีการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านเคมีและเชิงฟิสิกส์ด้วย ในครั้งนี้ ได้มีการจัดงานวิจัยอาหารรูปแบบดังกล่าวขึ้น ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและสถานศึกษา และใช้ชื่อว่า “Molecular Cooking Society”

งานครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง ยามาโมริ (Yamamori) และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องการวิจัยอาหาร ซึ่งได้มีการสาธิตการทำอาหารในรูปแบบ Molecular Gastronomy ขึ้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

Molecular Cooking Society ความสนุกของการค้นหาปรากฏการณ์ในห้องครัว

งานครั้งนี้ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่าง Yamamori และ Institute of Food Research and Product Development ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น เป็นโปรเจกต์ที่ทดลองเกี่ยวกับวัตถุดิบอาหาร วิจัย คิดค้นเทคนิคและวิธีการทำอาหารในรูปแบบใหม่ ๆ ในงานมีทั้งเชฟชาวฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย มาสาธิตวิธีการทำอาหารที่ดึงลักษณะเด่นของวัตถุดิบแต่ละชนิดมาใช้

 

ยกตัวอย่างเช่น เชฟ Thanapol Srisutthikul ที่เคยไปศึกษาปริญญาโทที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีความรู้เรื่อง Molecular Gastronomy ได้สาธิตการทำเมนูธีม “Plant-based menu” เช่น เมนูที่เลือกใช้ราวีโอลี (Ravioli) ที่ทำมาจากโปรตีนเกษตรซึ่งปราศจากคอเลสเตอรอลและช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมกรดอะมิโนที่สำคัญได้ดี เป็นต้น

Molecular Cooking Society ความสนุกของการค้นหาปรากฏการณ์ในห้องครัว

และสิ่งที่ทำให้รู้สึกว่า Molecular Gastronomy เป็นสิ่งใกล้ตัวสำหรับเราก็คือ การสาธิตเมนูไข่ โดยเชฟชาวญี่ปุ่น

Molecular Cooking Society ความสนุกของการค้นหาปรากฏการณ์ในห้องครัว

ไข่ นอกจากจะกินแบบสดได้แล้วนั้น ยังเป็นวัตถุดิบที่สามารถนำไปปรุงอาหารได้ด้วยวิธีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นต้ม ปิ้ง หรือ ทอด เป็นต้น ไข่มีลักษณะเฉพาะตัว คือ สามารถแข็งตัวได้ด้วยความร้อน (Thermo-Coagulation) และมีความสามารถในการช่วยให้ส่วนผสมที่มีคุณสมบัติต่างกันเปลี่ยนแปลงและผสมเข้ากันได้ (Emulsifying Property)

เริ่มกันด้วยวิธี “Thermo-Coagulation” ได้ยินว่ามาว่าไข่แดงจะเริ่มแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิ 65 องศาขึ้นไป และไข่ขาวจะเริ่มแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิ 70 องศาขึ้นไป สำหรับ “ไข่ออนเซ็น” เมนูที่คนญี่ปุ่นคุ้นเคยเป็นอย่างดีนั้น ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ พอได้ยินแบบนี้แล้วเริ่มรู้สึกว่าเรื่องโมเลกูลาร์ฯ เป็นเรื่องใกล้ตัวขึ้นมาบ้างหรือยังคะ?

Molecular Cooking Society ความสนุกของการค้นหาปรากฏการณ์ในห้องครัว

ถัดมาคือเรื่อง “Emulsifying Property” วิธีการนี้คือการนำสิ่งที่แต่เดิมไม่ได้อยู่ในสภาพเดียวกันมาผสมกันแล้วเกิดเป็นสภาพใหม่ที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไป อย่างน้ำส้มสายชูและน้ำมันเป็นสิ่งที่ผสมกันได้ยาก แต่หากใส่ไข่ลงไปจะทำให้เกิด Emulsifying Property และผสมเป็นเนื้อเดียวกันได้ในที่สุด และหนึ่งในเมนูที่ใช้วิธีการนี้ได้ก็คือน้ำสลัด นอกจากนี้ ยังมีการแนะนำเมนูอาหารที่ใช้ลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของไข่ อย่าง Foaming Property ที่เป็นการตีฟองจากไข่ขาวให้ดูกันอีกด้วย

“Molecular Cooking Society” เป็นโครงการที่ทำการวิจัยลักษณะพิเศษของวัตถุดิบและเครื่องปรุงต่าง ๆ แล้วนำมาใช้ในการทำอาหารพร้อมทั้งนำเสนอเมนูเหล่านี้ออกไปสู่ตลาดด้วย ผลที่ได้จากการวิจัยด้าน Molecular Gastronomy นี้ จะสามารถนำมาทำเป็นเมนูอาหารอะไรใหม่ ๆ ได้อีกบ้าง หรือ จะพาเราไปพบกับอาหารแบบไหน จึงเป็นสิ่งที่น่าติดตามมาก ๆ เลยค่ะ!


Hana’s Miso Soup เคล็ดลับของการมีชีวิตที่ดีคลิก
มิทาราชิดังโงะ ขนมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมคลิก

views