ไปดูแข่งขันซูโม่ที่ Siam Paragon The Wondrous Japan Heritage กัน!

ชวนดูแข่งขันซูโม่ครั้งแรกในไทย! ที่ Siam Paragon 6-9 ก.ค. นี้เท่านั้น

เพื่อเป็นการร่วมฉลองครบรอบ 136 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตอันแน่นแฟ้นระหว่างไทยและญี่ปุ่น และครบรอบ 50 ปี มิตรภาพ อาเซียน – ญี่ปุ่น ทาง สยามพารากอน โกลบอลเดสติเนชั่น ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, ซูโม่ เอ็กซ์พีเรียนซ์ สำนักสืบทอดและเผยแพร่วัฒนธรรมซูโม่จากญี่ปุ่น และ เจแปน แอร์ไลน์สายการบินแห่งชาติญี่ปุ่น ได้พาการแสดงแข่งขันซูโม่ส่งตรงจากแดนอาทิตย์อุทัยมาให้เราได้ดูกันถึงประเทศไทย ภายในงาน Siam Paragon The Wondrous Japan Heritage ที่เราจะได้สัมผัสวิถีแห่งซูโม่ ครั้งแรกในไทย พร้อมตื่นตากับการแสดง และร่วมกิจกรรมเวิร์คชอปศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่น่าสนใจ

ชวนดูแข่งขันซูโม่ครั้งแรกในไทย! ที่งาน Siam Paragon The Wondrous Japan Heritage


สัมผัสวิถีซูโม่ ทูตวัฒนธรรมผู้ร่วมเผยแพร่จิตวิญญาณแห่งกีฬาประจำชาติที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น


ชวนดูแข่งขันซูโม่ครั้งแรกในไทย! ที่งาน Siam Paragon The Wondrous Japan Heritage

สำหรับไฮไลท์ของงานในครั้งนี้ คือ การแสดงการแข่งขันซูโม่ โดยอดีตนักกีฬาซูโม่มืออาชีพ ระดับ “โคมุสุบิ” (Komusubi) ผู้รั้งลำดับขั้นที่ 4 จาก 10 ซึ่งถือเป็นลำดับขั้นสูงที่เรียกว่า “มาคุอุจิ” (Makuuchi) ได้แก่ โจโคริว (Jokoryu) และนักกีฬาระดับ “มาคุชิตะ” (Makushita) ได้แก่ บุงโกะนิชิกิ (BUNGO NISHIKI), คุมะโก (Kumago) และ โคโตะโอโทริ (Kotootori) ซึ่งนักซูโม่นั้นเปรียบได้กับทูตวัฒนธรรมคนสำคัญของประเทศญี่ปุ่น เพราะผู้ร่วมเผยแพร่จิตวิญญาณแห่งกีฬาประจำชาติที่เก่าแก่ที่สุดนั่นเอง

ชวนดูแข่งขันซูโม่ครั้งแรกในไทย! ที่งาน Siam Paragon The Wondrous Japan Heritage

สิ่งน่าสนใจที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับซูโม่

ภายในงาน เหล่าอดีตนักซูโม่จะทำการสาธิตสิ่งสำคัญหลัก ๆ ที่เป็นหัวใจของกีฬาเก่าแก่ชนิดนี้ โดยเริ่มจากกลุ่มท่าสำหรับการซ้อม ได้แก่ ท่า “ชิโกะ” หรือการยกขาสูงเพื่อย่ำเท้าที่เป็นท่าเริ่มฝึกซ้อมเปรียบเหมือนการวอร์มร่างกาย เพื่อสร้างพละกำลังให้ช่วงขาและสะโพก รวมถึงสร้างความสมดุลร่างกาย ซึ่งต้องฝึกฝนถึง 300 ครั้งก่อนเริ่มซ้อม และอีก 100 ครั้งก่อนเสร็จสิ้นการซ้อมในวันนั้น ๆ

ถัดไปคือท่า “ซุริอาชิ” คือการเดินย่างเข้าไปปะทะคู่ต่อสู้ เริ่มจากการย่อตัวเพื่อให้ศูนย์ถ่วงของร่างกายอยู่ต่ำ แล้วขยับตัวไปข้างหน้าโดยไม่ให้ฝ่าเท้ายกออกจากพื้น ต่อด้วยท่า “มาตะวาริ” หรือท่าแยกขาจนสุด โดยจะมีเพื่อนซูโม่ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมนั่งทับจากด้านหลัง เพื่อฝึกความยืดหยุ่น

ก่อนจะเป็นช่วงการซ้อมปะทะ ซึ่งถือเป็นไฮไลท์ของการซ้อม ทั้งการรุกและตั้งรับ ซึ่งใช้พละกำลังอย่างมาก เป็นการฝึกทั้งความแข็งแกร่งของร่างกายและความเข้มแข็งทางจิตใจ จากนั้นจะเป็นการสาธิตกระบวนท่าแข่งขัน ซึ่งจะมีกระบวนท่าเอาชนะทั้งหมด 28 ท่า

ชวนดูแข่งขันซูโม่ครั้งแรกในไทย! ที่งาน Siam Paragon The Wondrous Japan Heritage

โดยอดีตนักซูโม่จะทำการสาธิตทั้งหมด 3 ท่าสำคัญให้เราได้ดูกัน คือ ท่า “โอชิดาชิ” คือการผลักคู่ต่อสู้ออกนอกโดเฮียว (สังเวียนรูปวงกลม) โดยไม่จับบริเวณมาวาชิ (กางเกงของซูโม่), ท่า “โยริคิริ” คือการดันคู่ต่อสู้ออกนอกโดะเฮียวโดยจับตรงมาวาชิเอาไว้ ส่วนท่าสุดท้ายที่คือ “อุวาเตะนาเกะ” คือจับกางเกงมาวาชิของอีกฝ่ายเฉพาะด้านนอก แล้วทุ่มอีกฝ่ายลงให้ได้

ได้เห็นการสาธิตท่าต่าง ๆ แล้วก็รู้สึกตื่นเต้นสุด ๆ! แต่ที่ตื่นเต้น ตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่าคือการแข่งขันซูโม่ที่เราได้เห็นแบบชัด ๆ เต็มตาในเมืองไทย เพราะซูโม่ถือเป็นกีฬาประจำชาติญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงได้รับความนิยมอย่างมากจวบจนปัจจุบัน ในแต่ละปีมีชาวญี่ปุ่นรวมถึงนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกร่วมชมการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ซูโม่ประจำปีที่จัดขึ้นถึง 6 ทัวร์นาเมนต์รวมกว่า 800,000 คน อีกทั้งผู้ชมทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลกที่ชมการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติอย่าง NHK  อีกนับไม่ถ้วน

ชวนดูแข่งขันซูโม่ครั้งแรกในไทย! ที่งาน Siam Paragon The Wondrous Japan Heritage

กติกาการแข่งขันซูโม่ คือ นักกีฬาซูโม่สองคนจะทำการต่อสู้ภายในสังเวียนวงกลม โดยใช้เทคนิคการต่อสู้ต่าง ๆ เพื่อการเอาขนะคู่ต่อสู้ด้วยการทำให้อีกฝ่ายหลุดออกจากสังเวียน หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายที่นอกเหนือไปจากฝ่าเท้าแตะพื้น

ชวนดูแข่งขันซูโม่ครั้งแรกในไทย! ที่งาน Siam Paragon The Wondrous Japan Heritage

สังเวียนในการแข่งขันจะทำจากดิน ยกพื้นสูง และล้อมด้วยฟางข้าววงกลม เรียกว่า โดเฮียว (Dohyo) ส่วนซูโม่จะมีลำดับขั้นที่เรียกว่า Banzuke ซึ่งประกอบด้วยทั้งหมด 10 ลำดับ ไล่เรียงจากลำดับขั้นสูงสุดคือ Yokozuna, Ozeki, Sekiwake, Komusubi, Maegashira จัดอยู่ในหมวดระดับสูง หรือ มาคุอุจิ (Makuuchi) ถัดลงไปจะเป็น Juryo, Makushita, Sandame, Jonidan และ Jonokuchi ตามลำดับ


Gashapon Art Toy คอลเลคชั่นสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่มีให้หมุนเฉพาะในงานนี้เท่านั้น!


นอกจากการแสดงการแข่งขันซูโม่ที่น่าตื่นเต้นแล้ว ภายในงาน Siam Paragon The Wondrous Japan Heritage ยังมี การแสดงศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่นท่ามกลางบรรยากาศเทศกาลฉลองฤดูร้อนในแบบฉบับญี่ปุ่นอีกด้วย ทั้งการแสดงกลองไทโกะ, ระบำโยซาโคอิ (Yosakoi) โดยสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และ ระบำพัดญี่ปุ่น โดย Japanese Dancing Mai

Japanese Dancing Mai

นอกจากนี้ เรายังสามารถร่วมกิจกรรมเวิร์คชอปต่าง ๆ ได้แก่ ศิลปะการพับกระดาษแบบโอริกามิ และ ฝึกสมาธิผ่านการปั้นตุ๊กตาดารุมะ อีกทั้งยังสามารถเพลิดเพลินไปกับอาหารและขนมญี่ปุ่น พร้อมโปรโมชั่นทริปท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “Trip to Japan” หลากหลายโปรโมชั่นที่น่าสนใจจาก Japan Airlines ให้เลือกปักหมุดอีกด้วย

และที่พิเศษสุดสำหรับสาวกกาชาปองก็ต้อง Gashapon Art Toy คอลเลคชั่นสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่มีให้หมุนเฉพาะในงานนี้เท่านั้น! โดยกาชาปองที่มีให้หมุนสะสมในงานนี้เป็นฝีมือของกลุ่มศิลปินไทยรุ่นใหม่ SalaArte (ศาลาอันเต) ซึ่งมีให้หมุนสะสมกัน 2 คอลเลคชั่นด้วยกัน คือ กาชาปองแฮนด์เมดคอลเลคชั่นซูโม่ และคอลเลคชั่น Shonen ที่ผสมผสานจินตนาการและแรงบันดาลใจจากทั้งวัฒนธรรมญี่ปุ่นและไทย ออกมาเป็นกาชาปองที่น่าลุ้น น่าหมุนสะสมมาก ๆ เพราะฉะนั้นใครที่ไม่อยากพลาดงานดี ๆ แถมเข้าชมฟรีแบบนี้ก็รีบไปกันเลย เพราะงานมีเพียง 4 วันเท่านั้น ตั้งแต่วันนี้ ถึง 9 กรกฏาคม 2566 ณ พาร์ค พารากอน สยามพารากอน โดยเปิดให้เข้าชมฟรีตลอดวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 – 20.30 น.

สำหรับผู้สนใจชมการแสดงซูโม่, การแสดงกลองไทโกะ, การเต้นรำโยสะโคอิ และระบำพัดญี่ปุ่น สามารถเข้าชมแบบ walk-in (ที่นั่งมีจำนวนจำกัด) โดยจะจัดแสดงวันละ 2 รอบ รอบละ 90 นาที ได้แก่ 14.00 น. และ 17.00 น. และสามารถเข้าร่วมเวิร์คชอปต่าง ๆ ได้ เพียงช้อปภายในงานครบ 500 บาท (ต่อ 1 สิทธิ์) ได้แก่ เวิร์คชอปพับกระดาษโอริกามิ เวลา 13.00 -14.00 น. และ เวิร์คชอปปั้นตุ๊กตาดารุมะ เวลา 16.00 -17.00 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-610-8000 หรือติดตาม Facebook: Siam Paragon


อ่าน “Yuka กับการแต่งเพลงเพื่อให้กำลังใจตัวเองและคนอื่น ๆ กับเพลงฮิตอย่าง Baby Youคลิก

views