สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน
ผมชื่อมิกิพงษ์ หรือ Mikio Numadate ตัวแทนดาโกะครับ
เรื่องที่ผมจะเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของยชจัง เจ้าของเรียวกัง Satsuki Bessou ซึ่งเป็นเพื่อนผม
ผมน่ะรู้จักกับยชจังครั้งแรกเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ผมช่วยเขาแปลข้อมูลของ Satsuki Bessou เป็นภาษาไทย ถึงยชจังจะเป็นเจ้าของเรียวกังที่เมืองทามานะ จังหวัดคุมาโมโต้ แต่การบริหารจัดการเขาให้ภรรยาเป็นคนดูแล ส่วนยชจังนั้นเป็นฝ่ายคิดหาวิธีว่าทำยังไงให้คนไทยมาเที่ยวที่เมืองทามานะมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น การทำเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/satsukibessouth/
ยกตัวอย่างเช่น ดาต้าสเปเชี่ยลในดาโกะไทย https://www.daco-thai.com/magazine/145/
ยกตัวอย่างเช่น รายการ Daisuki Samurai Japan ที่กำลังจะออนแอร์เดือนกุมภาพันธ์นี้
เวลาที่มีคนไทยไปพักที่เรียวกังของเขา ยชจังมักจะตื่นเต้นดีใจ และส่งข้อความมาหาผมซึ่งอยู่ที่กรุงเทพฯ เสมอ
และข้อความที่เขาส่งมา ยกตัวอย่างเช่น
“วันนี้มีคนไทยขับรถเช่า มาพักที่เรียวกังด้วยนะ พวกเขามาจากที่ไหนกันนะ”
“มีผู้หญิงไทยสวยมากๆ ตัวสูงมากๆ มาพักด้วย เขาเป็นใครกันนะ”
“มีลูกค้าคนไทยบอกว่า ที่ไทย Satsuki Bessou ดังๆ มาก เรื่องจริงหรอครับ”
พอผมถามเขาว่า ทำไมไม่บอกคนไทยไปตรงๆ เลยล่ะ เขาตอบผมกลับมาว่า เพราะพูดภาษาไทยไม่ได้
แล้วทำท่าเขินอาย
ทุกๆ ปี ยชจังจะมางานส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นที่ชื่อว่า FIT เสมอ
เพื่อมาแจกโบว์ชัวร์ของ เรียวกัง Satsuki Bessou พอมาหลายครั้งเข้า เขาก็มักจะบอกผมว่า
เขาชอบเมืองไทยแล้วก็ชอบคนไทยมากด้วย
จนมีอยู่ครั้งนึง ยชจังชวนผม ไปออร์แกนิคฟาร์มที่จ.นนทบุรีกัน
เพราะก่อนหน้านี้ เจ้าของฟาร์มเคยไปพักที่ Satsuki Bessou มาก่อน
ยชจังเลยอยากจะแวะไปหาพวกเขาบ้าง และ 2 คนในภาพคือสามีและภรรยาเจ้าของฟาร์มนี้ครับ
http://www.veggiemillgroup.com
ยชจังชอบเมืองทามานะ ที่เป็นบ้านเกิดของเขามาก
เขาได้เคยของบจากทางเมืองแล้วให้รายการท่องเที่ยว
มาถ่ายทำแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองทามานะ
ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ได้ไปร่วมทริปนี้ด้วย
พวกเราได้ไปทั้งเมืองทามานะ และเมืองยามากะ
รวมไปถึงปราสาทคุมาโมโต้ด้วย ทางเมืองคงจะไม่ค่อยมีงบสักเท่าไหร่
ยชจังเลยเป็นคนขับรถพาไปที่นู้นที่นี่ตลอดทริป
ยชจังมีใบขับขี่สำหรับขับรถขนาดใหญ่ และยชจังก็ขับรถเก่งมากจริงๆ
นี่เป็นรูปเรียวกังสมัยที่คุณพ่อของยชจังเป็นคนดูแลใช้ชื่อว่า Hikino So ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น Satsuki Bessou
รูปนี้ก็เป็นรูปเมื่อ 60 ปีที่แล้ว สมัยนั้นยังไม่มีบริษัททัวร์ พนักงานเลยต้องมาเรียกลูกค้ากันเองแบบนี้ที่หน้าสถานีรถไฟ
รูปนี้เป็นรูปออนเซ็นเมื่อ 100 ปีที่แล้ว (ไม่ทราบว่าเป็นออนเซ็นที่ไหน)
ยชจังอาศัยอยู่ที่เมืองออนเซ็นนี้มาตั้งแต่เด็กๆ ทำให้รู้จักของอร่อยๆ
ของทามานะ เขาจึงไปตลาดด้วยตัวเองเพื่อหาของอร่อยๆ
แล้วนำมาปรุงอาหารโดยใช้วัตถุดิบที่เลือกมาอย่างคุ้มค่า เพื่อไม่ให้มีราคาแพง
ทำให้จำนวนเมนูที่เรียวกังมีจำกัดตามไปด้วย แต่ยิ่งน้อยเมนู
ผมก็การันตีได้เลยว่ามันเป็นเมนูที่อร่อย และทำจากใจเลยล่ะครับ
จวบจนเมื่อปีที่แล้ว ตอนที่ผมไปเที่ยว เขาไปที่ตลาดแล้วเจอกุ้งอิเซะ
เขาก็ซื้อมาทำเป็นซาชิมิให้ผมกินด้วย ยชจังเป็นคนมีน้ำใจจริงๆ
เวลาที่เขามาที่เมืองไทย เขามักจะซื้อสาเกอย่างดีมาให้ผมเสมอ
แน่นอนว่าต้องเป็นสาเกชั้นดีจากเมืองทามานะนั่นเอง
รอบๆ Satsuki Bessou มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าไปเยือนมากมาย
ผมได้ไปตีระฆังที่วัดที่มีระฆังที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเสียงต่ำที่ช่างมีพลังเหลือเกิน
จวบจนถึงตอนนี้ร่างกายของผมก็ยังสั่นสะเทือนอยู่เลย
ที่ใกล้ๆ วัดมีร้าน จังโกะนาเบะ อาหารของซูโม่
ลูกชิ้นของที่นี่อร่อย เขาต้องใช้ปลาสดๆ
ที่กินแบบซาชิมิได้มาทำแน่นอน ผมคิดว่าต้องเป็นของที่ร้านทำเองแน่ๆ
ที่เขตทาคาเซะ เป็นศูนย์รวมร้านค้าเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี
มีทั้งร้านน้ำส้มสายชู (ผมซื้อมาเป็นของฝากให้พนักงานคนไทยที่ออฟฟิศ เขาชอบมาก)
นอกจากนี้ยังมี ร้านชา ร้านลูกอมและร้านขายหมวกด้วย
แต่ที่ผมชอบที่สุดคือ วิวทิวทัศน์ของคลอง เมืองทามานะเป็นเมืองผลิตข้าว (สาเกที่นี่เลยอร่อย)
เมื่อ 400 ปีก่อนหน้านี้ ข้าวจะถูกลำเลียงผ่านแม่น้ำคิคุชิ ไปถึงโอซาก้า
และขากลับจากโอซาก้า ก็จะบรรทุกหิน เพื่อมาสร้างเขื่อนนี้ ร่องรอยของ 400 ปีที่แล้ว
ยังคงหลงเหลืออยู่ในเมือง ซึ่งผมว่ามันวิเศษมากเลย
ยชจังพาผมไปที่ฟาร์มสตรอเบอรี่ด้วย ถ้าผิวของสตรอเบอรี่เป็นสีแดง
แสดงว่าทานได้แล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป เป็นช่วงที่จัดให้ชิมสตรอเบอรี่ได้ไม่อั้น
(จนถึงปลายเดือนพฤษภาคม) สตรอเบอรี่ที่นี่มีถึง 3 ชนิด ชิมไปเปรียบเทียบกันไปก็ทำให้สนุกดี
เขาพาผมไปที่สวนส้มด้วย ที่นี่ใช้วิธีส่งอากาศเข้าไปที่ดินใต้ต้นส้ม
และทำให้น้ำระเหยเร็วขึ้น เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้นจะกลายเป็นส้มที่มีแต่น้ำ
ส้มนี้ได้นำไปถวายให้กับจักรพรรดิด้วย ส้มแต่ละพันธุ์ก็จะออกผลแตกต่างกันในแต่ละฤดู
ส้มพันธุ์Navel มีรสหวานเหมือน เกรปฟรุต อร่อยดีครับ ที่นี่มีให้ทำบาร์บีคิวด้วย
จุดเด่นของที่นี่คือการเสิร์ฟเนื้อสดๆ ที่ไม่ได้ผ่านการแช่แข็ง ของที่ผ่านการแช่แข็งมา
ไม่ว่ายังไงคุณภาพของมันก็ลดลงแน่นอน เพราะฉะนั้นที่นี่จึงเลือกใช้เนื้อที่แล่มาสดๆ
เสิร์ฟให้กับลูกค้า มันจึงนุ่มและอร่อยมากเลยครับ
มีสถานที่นึงที่ผมสนใจมากๆ คือ ที่มินคังมูระ เป็นหมู่บ้านที่ทำเหมือนธีมพาร์ค
รวมบ้านที่เป็นวัฒนธรรมของญี่ปุ่นไว้ ค่าเช่าบ้านของที่นี่ราคาอยู่ที่เดือนละ 300 บาท
ต่อหนึ่งหลังเท่านั้น!
ทั้งช่างไม้ ช่างทำกระจกชาวญี่ปุ่นที่ยังเป็นวัยรุ่น
ไปจนถึงคนสวีเดน ได้มาทำดาบญี่ปุ่นที่ยังคงวิธีการทำแบบดั้งเดิมมาตั้งแต่สมัยโบราณ
แต่ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถยืมได้ในราคา 300 บาท จะมีเงื่อนไขบางอย่าง
ผมคิดว่าถ้ามาจัดงาน Tamana Thai Festival หรือจัดงานอาหารไทยที่มินคังมูระนี่ก็คงจะดี
ยชจังพาผมไปเมืองข้างๆ ที่ชื่อยามากะด้วย บรรยากาศของที่นี่เหมือนตลาดเมื่อ 100 ปีก่อน มันมีเสน่ห์มากเลยล่ะ
ท่อระบายน้ำภายในเมืองมีกลิ่นหอมของไอน้ำจากการนึ่งข้าวสำหรับการทำสาเกลอยออกมา
ถัดมาเป็นที่โรงละคร Yachiyoza ที่นี่ได้ใช้เวลากว่า 30 ปีในการฟื้นฟูซ่อมแซม
เขาพาไปแนะนำถึงวิธีการทำงานของด้านล่างเวทีด้วย ซึ่งใช้คนหลายคนทำให้มันเคลื่อนไหวเหมือนรถเกียร์วัน
และต่อมาคือปราสาทคุมาโมโต้
เป็นเพราะแผ่นดินไหว ทำให้ตอนนี้ปราสาทจึงอยู่ระหว่างปรับปรุง
แต่ด้วยความที่เป็นปราสาทชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่น
จึงยังมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาไม่ขาดสาย
การฟื้นฟูจะทำตามแผนที่และรูปภาพ
พอได้ทราบถึงวิธีการซ่อมแซมที่ฟังแล้วน่าท้อใจ ก็รู้สึกซาบซึ้งใจมากเลยครับ
เมื่อปีที่แล้ว ผมกับภรรยาไปเที่ยวภูเขาไฟอาโซะ เลยได้พักที่ Satsuki Bessou
ยชจังให้ผมพักห้อง Standard ที่เป็นห้องที่หรูอันดับสองโดยเขาบอกว่า ห้องมันว่างอยู่ เชิญเลย
เช้าวันถัดมา ผมเช็คเอ้าท์แต่เช้าตรู่ และเดินทางไปสนามบินฟุกุโอกะ นึกขึ้นได้ว่าลืมคืนกุญแจห้องกับกุญแจเซฟ
ยชจังเลยขับรถตามมาเพื่อมารับกุญแจคืน จากเรียวกัง Satsuki Bessou
มาถึงสนามบินใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงกับอีกนิดหน่อย
ผมฝากกุญแจไว้ที่เคาน์เตอร์เช่ารถของสนามบิน แล้วขึ้นเครื่องกลับมากรุงเทพฯ
โดยที่ไม่ได้พบกับยชจัง ถึงแม้จะดูยุ่งเหยิง แต่มันก็เป็นความทรงจำที่ประทับใจมากจวบจนทุกวันนี้
คนไทยทุกท่านครับ ผมโยชินากะ เจ้าของ Satsuki Bessou ครับ
Satsuki Bessou เป็นเรียวกังสไตล์ญี่ปุ่น ที่ตั้งอยู่บนเนินสูงที่สามารถเห็นวิวที่สวยงามของเมืองออนเซ็นทามานะได้
เป็นเวลา 10 ปีแล้วที่ผมได้รับช่วงต่อในการดูแลเรียวกังนี้มาจากพ่อของผม
(รูปนี้เป็นรูปภ่ายเมื่อ 70 ปีที่แล้ว ผู้หญิงที่ยืนอยู่ฝั่งซ้ายคนที่ 2 คือแม่ผมเอง)
ถ้ารวมที่ผมมาคุยกับบริษัททัวร์ต่างๆ ด้วยแล้วละก็ ผมมาเมืองไทยประมาณ 4 -5 ครั้งแล้วครับ
เส้นทางผมก็รู้บางเล็กน้อย คนรู้จักก็เพิ่มมากขึ้น
เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ที่ Satsuki Bessou ก็มีบางชิ้นที่ผมสั่งมาจากเมืองไทยด้วย
ผมมีโอกาสได้มาเมืองไทยค่อนข้างบ่อย
ทำให้ทุกๆ วันตอนเช้าผมจะพูดกับพนักงานของ Satsuki bessou ว่าสวัสดีครับ
และพูดว่าขอบคุณครับด้วย ที่ฟร้อนท์เวลามีลูกค้าคนไทยมาเราจะทักทายด้วยภาษาไทยครับ
ถ้าเป็นผู้หญิงผมจะสอนให้เขาพูดคำว่าค่ะ
หากมีคนไทยจองที่พักเข้ามา พนักงานจะรีบโทรมาหาผมแล้วบอกว่า
“ท่านประธานคะ! มีลูกค้าคนไทยจองที่พักเข้ามาค่ะ”
เวลาผมได้ยินภาษาไทยแล้วจะรู้สึกสงบ ถึงแม้จะไม่เข้าใจความหมายก็ตาม
ผมจะพยายามตอบกลับด้วยภาษาอังกฤษที่ไม่ได้แข็งแรงนัก แต่ก็เข้าใจกัน
ผมอยากให้คนไทยมาที่นี่เยอะขึ้น เพราะฉะนั้นผมเองก็จะไปเมืองไทยให้บ่อยขึ้นเช่นกันนะครับ
ขอบคุณที่อ่านเรื่องเรียวกัง Satsuki Bessou ของผม และของคุณมิกิพงษ์มาจนถึงบรรทัดนี้
ถ้าสนใจจองห้องพัก อบอุ่นและน่ารักของผม
กรุณาส่งเมลมาที่นี่ได้เลยครับ
info@satsukibessou.com
ปล.รบกวนส่งมาเป็นภาษาอังกฤษให้ผมหน่อยนะครับ
Hiroyuki Yoshinaga
แล้วมาพบกับคุมะยชจังกันนะคร้าบบ
อ้อมมิส : แปลภาษาญี่ปุ่น