Yamagata กับคู่มือแนะนำภาษาท้องถิ่นน่ารู้ที่จะทำให้คุณเข้าใจคนยามากาตะได้มากขึ้น
ถึงแม้ว่าหลายคนจะมีทักษะทางภาษาที่ 2, 3, 4 หรือ 5 แต่ไม่ว่าจะภาษาไหน ๆ พอได้มาเจอภาษาถิ่นก็ต้องมีชะงักกันบ้างล่ะ อย่างภาษาญี่ปุ่นเอง พอเป็นภาษาถิ่นก็ใช้คำที่แตกต่างออกไปจนอาจทำให้คนต่างถิ่นและคนต่างประเทศงงได้ จังหวัดยามากาตะ (Yamagata) เองที่ตระหนักดีว่าภาษาท้องถิ่นอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้มาใหม่ในการทำความเข้าใจ ทางจังหวัดจึงได้จัดทำคู่มือภาษายามากาตะเป็นภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการขึ้นมาและโพสต์ทางเว็บไซต์ของจังหวัด เพื่อช่วยเหลือและลดความสับสนในการสนทนาที่อาจเกิดขึ้นได้
ในคู่มือจะเห็นได้ว่าภาพประกอบที่ใช้นั้นจะเป็นภาพวาดของผู้สูงอายุ นั่นก็เพราะว่าหลัก ๆ แล้วคู่มือนี้เกิดขึ้นมาจากการที่จังหวัดได้พูดคุยกับแรงงานต่างชาติที่ทำงานในบ้านพักคนชราในจังหวัดยามากาตะถึงอุปสรรคที่พวกเขาได้พบเจอระหว่างทำงาน ซึ่งหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่พวกเขาต้องเผชิญก็คือการทำความเข้าใจผู้ป่วยและผู้อยู่อาศัยเมื่อพวกเขาพูดภาษาถิ่นนั่นเอง
และภายในยามากะตะเอง แต่ละเขตหรือพื้นที่ก็มีภาษาถิ่นที่แตกต่างกันออกไปอีก ในคู่มือฉบับนี้จึงได้แบ่งภาษาถิ่นออกเป็นเขตต่าง ๆ ไว้ด้วย คือ Okitama (置賜), Mogami (最上), Shonai (庄内) หรือ Murayama (村山) จะมีคำไหนที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกัน!
เดิน ๆ อยู่มีคุณลุงคุณป้ามายื่นขนมให้แล้วบอกว่า “เคะ ๆ” ก็อาจงงได้ แต่จริง ๆ แล้วก็คือ “食べてください” (ทาเบเตะคุดะไซ) ที่แปลว่า โปรดกินเถอะจ้าา
คำต่อมาคือคำที่คิดว่าน่าจะทำให้เกิดการสับสนมากที่สุด นั่นก็คือคำว่า “こわい” (โคะไว) ที่ไม่แต่แปลว่า こわい (怖い) – น่ากลัว อย่างที่ทุกคนคิด แต่แปลว่า “เหนื่อย” (疲れた)
ส่วนคำว่า “ขอบคุณ” ถ้าเป็นภาษาถิ่นของเขตมารุยามะก็อาจจะเข้าใจได้ง่ายหน่อย เพราะใกล้เคียงกับภาษากลาง คือ “ありがどさま” (อาริกาโดะซามะ) ส่วนแบบที่ไม่คุ้นเคยเลยก็คงเป็นเขตโชไนที่ใช้คำว่า “もっけだの” (มกเคะดะโนะ)
เป็นคู่มือ 2 หน้าที่มีประโยชน์ เข้าใจง่าย อ่านสนุกทีเดียวล่ะ ใครสนใจสามารถอ่านทั้งหมดได้ทาง
www.pref.yamagata.jp/documents/28591/hougen.pdf
อ่าน “บันทึกการเรียนภาษาญี่ปุ่น: Lemon, not melon!” คลิก