เที่ยวญี่ปุ่นหน้าหนาว ตามดูแหล่งวัตถุดิบชั้นยอดของ OISHI

เที่ยวญี่ปุ่นหน้าหนาว ตามดูแหล่งวัตถุดิบชั้นยอดของ OISHI

เมื่อคุณนงนุช บูรณะเศรษฐกุล (กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)) เผยว่า โออิชิ (OISHI) มีความมุ่งมั่นในการส่งต่อผลิตภัณฑ์อาหาร – เครื่องดื่มที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าเสมอมา โดยให้ความสำคัญด้าน ‘คุณภาพ’ เป็นอันดับหนึ่ง พิถีพิถันทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐานจนไปถึงโรงงานที่ทันสมัย เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร – เครื่องดื่มชั้นเลิศที่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์และความปลอดภัย” แล้วนั้น

เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ดาโกะจึงขอออกเดินทางร่วมกับโออิชิเพื่อไปสำรวจแหล่งวัตถุดิบชั้นยอดที่ญี่ปุ่นด้วยคน ทริปนี้จะพาไปแหล่งวัตถุดิบอะไรบ้าง ออกเดินทางไปพร้อมกันเลย!


สัมผัสหิมะ ท้าความหนาว ขอพร “ซาโอะ จิโซซัง” ที่ภูเขาซาโอะ จังหวัดยามากาตะ


มาจากเมืองร้อน ร่างกายก็ต้องการปะทะความหนาวเป็นธรรมดา ดังนั้น เมื่อเราเดินทางถึงญี่ปุ่นปุ๊บเลยเลือกนั่งชินคันเซ็นต่อไปยังจังหวัดยามากาตะในทันที โดยเราเลือกแวะร้านทงคัตสึเจ้าอร่อยที่คนในเมืองยืนต่อแถวเข้าคิวรอเข้าร้านกันเรื่อย ๆ อย่างร้าน Tonkatsu Tonpachi (とんかつ とん八) เพื่อเติมพลังกันก่อนที่จะไปขึ้นไปสัมผัสความหนาวระดับติดลบบนยอดภูเขาซาโอะ

Tonkatsu Tonpachi (とんかつ とん八)

เติมพลังกันจุก ๆ ทั้งหมู ทั้งกุ้ง

เติมพลังกันเรียบร้อยก็เตรียมตัวออกเดินทางสู่ภูเขาซาโอะ เพื่อนั่งกระเช้าขึ้นไปตามล่าหา “ปีศาจหิมะ” หรือ Snow Monster ที่อยู่บนความสูงกว่า 1,000 เมตรเหนือระดับน้าทะเล ซึ่งปีศาจหิมะที่ว่าก็คือการทับถมกันของหิมะที่ตกลงมาปกคลุมต้นสนขนาดสูงใหญ่ที่อยู่บนภูเขาจนมีลักษณะคล้ายปีศาจนั่นเอง

นอกจากปีศาจหิมะแล้ว อีกสิ่งที่ดาโกะขอแนะนำคือ “ซาโอะ จิโซซัง” (Zao Jizosan) พระพุทธรูปขนาดใหญ่สูงถึง 2.34 เมตรซึ่งว่ากันว่าใช้เวลาสร้างกว่า 37 ปี และคนญี่ปุ่นนิยมขอพรและขอให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ โดยในฤดูหนาวที่หิมะหนักตกนั้น ซาโอะ จิโซซัง จะถูกหิมะปกคลุมจนถึงบริเวณอกเลยทีเดียว เป็นการขอพรท้าความหนาว อีกทั้งยังได้รูปสวย ๆ กิมมิคเก๋ ๆ อีกด้วย

ข้อมูลเกี่ยวกับ Zao Ropeway: http://zaoropeway.co.jp/en

ภูเขาซาโอะ (Zao Mount) - ยามากาตะ (Yamagata)

การนั่งกระเช้าจากสถานี “ซาโอ ซันโระคุ” (ZaoSanroku Station) ไปยัง สถานี “จิโซ ซังโช” (Jizo Sancho Station) ใช้เวลาประมาณ 30 นาที (รวมเวลาเปลี่ยนสาย)

ปีศาจหิมะ (Snow Monster) - ยามากาตะ (Yamagata)

หิมะกำลังตก ใครที่มาหลังจากนี้คงมีโอกาสได้เห็นกองทัพปีศาจหิมะตัวฟู ๆ

สัมผัสหิมะกันจุใจแล้วเราก็นั่งกระเช้ากลับลงมาด้านล่าง เติมท้องกันด้วยบุฟเฟ่ต์ชาบูแสนอร่อยที่มีกลิ่นหอม ๆ ของยูซุเป็นตัวชูโรงที่ร้าน “Yuzuan” (ゆず庵) และเข้าที่พักเพื่อพักผ่อนและเตรียมตัวมุ่งสู่ตลาดปลาโทโยสุในวันถัดมา


สัมผัสบรรยากาศพื้นที่ประมูลทูน่าอย่างใกล้ชิดที่ตลาดปลาโทโยสุ


ตลาดปลาโทโยสุ (Toyosu Market) เป็นตลาดค้าส่งปลาและอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นและในโลก ที่ใช้เวลาเดินทางจากสถานีอุเอโนะประมาณ 20 นาที ตลาดปลาแห่งนี้ใหญ่กว่าตลาดสึกิจิเดิมถึง 1.8 เท่า ด้วยพื้นที่กว่า 407,000 ตารางเมตร

ภายในถูกแบ่งออกเป็น 3 ตึกหลักด้วยกัน ได้แก่ Fish Wholesale Market Building ตึกที่มีการประมูลทูน่า, Fish Intermediate Wholesale Market Building ตึกที่มีการซื้อขายอาหารทะเลสาหรับผู้ประกอบธุกิจ และ Fruit and Vegetable Market Building ตึกที่มีการประมูลผักและผลไม้สด จากทั้งในและนอกประเทศ

ตลาดปลาโทโยสุ (Toyosu Market)

ทางโออิชิได้มีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารจากประเทศญี่ปุ่น โดยกลุ่มอาหารทะเล โดยเฉพาะปลาทูน่าญี่ปุ่นนั้นได้นำเข้าจากตลาดโทโยสุ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง โดยมีการควบคุมอุณหภูมิระหว่างการจัดส่งอย่างเข้มงวด พร้อมกันนั้นยังดูเเลการจัดเก็บวัตถุดิบอาหารอย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้เราได้สัมผัสถึงความสด ใหม่และรสชาติที่ดีที่สุดของวัตถุดิบได้อย่างแท้จริงด้วย

ตลาดปลาโทโยสุ (Toyosu Market)

นี่คือพื้นที่ประมูลปลาทูน่าล่ะ!

OISHI เยี่ยมชมแห่งวัตถุดิบคุณภาพ ตลาดปลาโทโยสุ

สำหรับครั้งนี้ เราไม่ได้มาดูการประมูลปลาทูน่า แต่ที่พิเศษก็คือ เรามีโอกาสได้ลงพื้นที่ไปเดินสำรวจภายในพื้นที่ประมูลและร้านค้าส่งที่ปกติจะต้องเป็นผู้ประกอบการเท่านั้นถึงจะเข้าพื้นที่เฉพาะนี้ได้ ได้เดินดูบรรยากาศช่วงหลังการค้าขายเสร็จสิ้นลง ได้เห็นร้านค้าต่าง ๆ ทำความสะอาด จัดเก็บข้าวของ เพื่อเตรียมร้านให้พร้อมสำหรับวันถัดไป ก็ได้ฟีลไปอีกแบบ

OISHI เยี่ยมชมแห่งวัตถุดิบคุณภาพ ตลาดปลาโทโยสุ

ส่วนใครที่อยากดูการประมูลปลาทูน่าหรือมากุโระนั้น ที่ตลาดโทโยสุจะมีขึ้นการประมูลช่วงเวลา 05.30 – 06.30 น. ของทุกวันที่เปิดทำการ โดยจะต้องจองคิวผ่านระบบจองล่วงหน้าและลุ้นผลการจับสลากก่อน ใครที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ http://pia.jp/piajp/v/toyosushijou19

OISHI เยี่ยมชมแห่งวัตถุดิบคุณภาพ ตลาดโทโยสุ

เชื่อมั่นในคุณภาพของทูน่าที่นำเข้ามาใช้ที่โออิชิได้เลย!

หลังเดินสำรวจพื้นที่ สัมผัสบรรยากาศตลาดปลาโทโยสุเสร็จแล้ว เราเดินทางออกจากโตเกียวกันอีกครั้ง เพื่อไปพักผ่อนและแช่ออนเซ็นที่เมืองฮาโกเน่ โดยเราเลือกพักที่ Hakone Kowakien Ten-yu เพื่อจะได้แช่ออนเซ็นพร้อมชมวิวธรรมชาติสวย ๆ อย่างใกล้ชิด ขอบอกว่าออนเซ็นที่โรงแรมเป็นออนเซ็นที่เราประทับใจมาก ๆ ได้นั่งแช่ออนเซ็นในบ่อกลางแจ้งที่วิวตรงหน้าเป็นน้ำตก ข้าง ๆ เป็นต้นบ๊วยที่กำลังผลิดอกในค่ำคืนที่เงียบสงบนั้น… นี่แหละสวรรค์บนดิน! ได้คลายทั้งความปวดเมื่อย แถมแช่เสร็จก็สัมผัสได้ถึงผิวที่เนียนนุ่มขึ้นทันทีอีกด้วย (กลับมาไทยได้สัปดาห์กว่า ๆ แล้วก็ยังรู้สึกถึงความเนียนนุ่มนั้นได้ ถ้าได้แช่บ่อย ๆ ผิวต้องดีมากแน่ ๆ) 

บรรยากาศยามเช้าที่ Hakone Kowakien Ten-yu


ไร่ชามัตสึดะ ไร่ชารางวัลจักรพรรดิญี่ปุ่น การันตีด้วยรางวัล “The Emperor’s Cup” ที่ OISHI นำมาใช้ในการผลิต “โออิชิ โกลด์”


สำรวจที่มาแหล่งวัตถุดิบอาหารกันแล้ว เราจะพลาดแหล่งวัตถุดิบเครื่องดื่มของโออิชิไม่ได้ เช้าวันถัดมาเราจึงมุ่งตรงสู่เมืองโอมาเอะซากิ แหล่งกาเนิดใบชาเขียวคุณภาพเยี่ยมชนิดไม่มีที่ไหนเทียบได้มานานกว่า 100 ปี ด้วยทำเลที่ตั้งอันเหมาะสมบริเวณตอนกลางของญี่ปุ่น ได้รับความชุ่มชื้นจากท้องทะเล ประกอบกับสายน้าบริสุทธิ์ อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ไหลลงมาจากเทือกเขาเจแปนแอลป์ จึงทาให้เมืองโอมาเอะซากิ เป็นหนึ่งในเมืองที่เหมาะแก่การเพาะปลูกชาเขียวที่สุดในญี่ปุ่น

ระหว่างเดินทางไปไร่ชา ฟูจิซังยังคงเหนียมอาย แอบโผล่มาทักทายเราแค่เพียงนิด ๆ 

"ไร่ชามัตสึดะ" (Masuda-en) ไร่ชารางวัลจักรพรรดิญี่ปุ่น

ถึงแล้ว “ไร่ชามัตสึดะ” (Masuda-en) ไร่ชารางวัลจักรพรรดิญี่ปุ่น

ไร่ชาที่เราเดินทางไปครั้งนี้คือ “ไร่ชามัตสึดะ” (Masuda-en) ไร่ชารางวัลจักรพรรดิญี่ปุ่น การันตีด้วยรางวัล “The Emperor’s Cup” และรางวัลคุณภาพอีกมากมาย ที่นี่เราได้พบกับเจ้าของไร่ชา คุณสึโยมิ มัตสึดะ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องชาจากประสบการณ์ที่ตกทอดมา 5 ชั่วอายุคน ดังนั้น ไร่แห่งนี้จึงมีกรรมวิธีการผลิตชาเขียวที่พิถีพิถันในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว จนได้เป็นชาที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดออกมา

ตัวอย่างชาแต่ละตัวที่เราได้ลองดมกลิ่นกันแบบชัด ๆ!

ไม่ใช่แค่ดมกลิ่น แต่ได้ลองชิมด้วยนะ

ใบชาทั้งหมดถูกเลือกเก็บจากยอดอ่อนใบชา หลังจากนั้นนำใบชาไปนึ่งด้วยไอน้ำ เพื่อหยุดการเปลี่ยนสีของใบชาและ คงคุณภาพชาไม่ให้เสียไป แล้วนำมานวดในทันที เพื่อให้ชาเกิดกระบวนการทางเคมี ใบชาจะมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ เพื่อคงความสดของชาให้มากที่สุด

คุณสึโยมิ มัตสึดะ เจ้าของไร

ฟังคุณสึโยมิ มัตสึดะ เล่าถึงขั้นตอนแสนพิถีพิถันในแต่ละขั้นตอน

หลังจากนั้นโออิชิจะนำไปเข้าสู่กระบวนการผลิตด้วยนวัตบรรจุเย็นแบบปลอดเชื้อ (Cold Aseptic Filling หรือ CAF) ซึ่งเป็นเทคโนยีการผลิตที่ทันสมัยที่สุดในการผลิตเครื่องดื่มในปัจจุบันที่ได้มาตรฐานระดับโลก สามารถควบคุมความสะอาด อีกทั้งยังคงรสชาติและคุณประโยชน์ของชาเขียวต่อร่างกายไว้ให้ดีที่สุดอีกด้วย

ได้รู้ที่มาที่ไปแบบนี้ก็ทำให้เราดื่มชาโออิชิได้อย่างอร่อยและมีอรรถรสมากขึ้นไปอีกขั้น แต่เวลาไม่รอช้า หลังจากฟังคุณมัตสึดะเล่าเรื่องราวและกรรมวิธีต่าง ๆ ให้เราฟังเสร็จเรียบร้อย ก็ได้เวลานั่งชินคันเซ็นกลับเข้าโตเกียว เพื่อมาพักผ่อน ใช้เวลาเดินเล่นช้อปปิ้งกันสบาย ๆ ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในวันถัดมา

ส่วนแผนกลยุทธ์ในอนาคตของ โออิชิ กรุ๊ป นั้น ทางคุณนงนุช บูรณะเศรษฐกุลบอกกับเราว่าตั้งใจจะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค ส่งเสริมให้มีการนำนวัตกรรมมาพัฒนาอาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้นด้วยการออกสินค้าใหม่ ๆ ที่สอดรับกับแนวคิดเรื่อง Health & Wellness ที่เป็นเทรนด์สำคัญในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งยังคงยึดมั่นใน “คุณภาพ” พร้อมมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมภายใต้หลักธรรมาภิบาลด้วย

ได้เที่ยวญี่ปุ่นพร้อมสำรวจแหล่งวัตถุดิบชั้นยอดของโออิชิด้วยแบบนี้ถือเป็นประสบการณ์อีกรูปแบบที่สนุกมาก ๆ เลยล่ะ แบบนี้คงต้องหาโอกาสออกเดินทางสำรวจแหล่งวัตถุดิบดี ๆ แบบนี้อีกซะแล้ว

ปิดท้ายด้วยบรรยากาศ 5 แยกชิบุยะในยามค่ำคืน


อ่าน “โออิชิ แกรนด์ กลับมาแบบยิ่งใหญ่กว่าเดิมด้วยคุณภาพระดับโอมากาเสะ!คลิก

views