New beginnings ฤดูใบไม้ผลิกับการเริ่มต้นใหม่

New beginnings ฤดูใบไม้ผลิกับการเริ่มต้นใหม่

สำหรับคนไทยอย่างเรา ๆ หากพูดถึงการเริ่มต้นปีใหม่แล้วล่ะก็ วันที่เรามักจะนึกถึงก็คือวันปีใหม่หรือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เมื่อหมดวันสิ้นปี 31 ธันวาคม เราก็พร้อมจะฉลองและบอกลาปีเก่าเดินหน้าเข้าสู่ปีใหม่ เริ่มต้นใหม่ ตั้งเป้าหมายใหม่กัน แต่รู้ไหมว่าสำหรับประเทศญี่ปุ่นแล้ว การเริ่มต้นที่แท้จริงของชาวญี่ปุ่นไม่ใช่วันปีใหม่เหมือนเรา หากใครที่เคยดูภาพยนตร์ ละคร มังงะ หรืออนิเมะต่าง ๆ อาจจะพอคุ้นเคยอยู่บ้างว่าทุกอย่างล้วนเริ่มต้นที่เดือนเมษายนกันหมดเลย beginningsNew beginnings ฤดูใบไม้ผลิกับการเริ่มต้นใหม่

บทเพลงต่าง ๆ ก็เช่นกัน มักจะถือเอาช่วงฤดูใบไม้ผลิเป็นการเริ่มต้นสิ่งใหม่ ทั้งความรักหรือมิตรภาพ ในชีวิตจริงก็มีการเริ่มต้นใหม่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนที่เริ่มต้นการศึกษาใหม่ พนักงานเงินเดือนที่เริ่มต้นงานใหม่ หรือแม้กระทั่งเวลาเริ่มต้นใช้สมุดจนอย่างสมุดแพลนเนอร์ที่มีวันที่เขียนเอาไว้เรียบร้อยแล้วก็เช่นกัน หากใช้สมุดแพลนเนอร์ของญี่ปุ่นล่ะก็ ช่วยไม่ได้ที่คุณจะต้องเปลี่ยนสมุดใหม่ทุกเดือนเมษายน ไม่ใช่เดือนมกราคมต้นปีแต่อย่างใด

วันนี้เราเลยตั้งใจจะมาชวนผู้อ่านทุกท่านร่วมตามหาข้อเท็จจจริงกันว่าทำไมจุดเริ่มต้นแต่ละปีของประเทศญี่ปุ่นถึงมาอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (เดือนเมษายน)


ย้อนกลับไปศึกษาอดีต


New beginnings ฤดูใบไม้ผลิกับการเริ่มต้นใหม่

ภาพประกอบ : Photo by Andre Benz on Unsplash

แม้ในปัจจุบันการเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ของนักเรียนจะเริ่มต้นในเดือนเมษายน แต่เมื่อย้อนกลับไปดูในอดีตเหมือนจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะในสมัยเอโดะไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนวัด (寺子屋, Terakoya) โรงเรียนเอกชน (私塾, Shijuku) หรือโรงเรียนประจำตระกูล (藩校, Hanko) ต่างก็ไม่ได้การกำหนดช่วงเวลาอย่างชัดเจน แต่จะเป็นการเรียนตามช่วงเวลาที่สะดวกของแต่ละกลุ่มอาชีพหรือแต่ละคน เพราะทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ล้วนถือเป็นหนึ่งแรงงานที่ต้องช่วยงานที่บ้าน ดังนั้นแต่ละบ้านจึงเข้าเรียนต่างช่วงเวลากัน จนเมื่อเข้าสู่ยุคเมจิก็ได้นำระบบการศึกษาเข้ามาจากทางตะวันตก ทำให้มีการกำหนดภาคการศึกษาให้นักเรียนต้องเข้าเรียนพร้อมกันในเดือนกันยายน

แต่เมื่อปีเมจิที่ 19 (ค.ศ.1886) กระทรวงการศึกษาของญี่ปุ่นในขณะนั้นได้ประกาศให้นักเรียนทั่วทั้งประเทศลงทะเบียนเรียนพร้อมกันในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ด้วยเหตุผลที่ว่ารัฐบาลได้มีการกำหนดปีงบประมาณใหม่ให้เริ่มตั้งแต่เมษายนถึงมีนาคม และบังคับให้ทุกโรงเรียนจัดปีงบประมาณให้สอดคล้องกับปีงบประมาณของรัฐบาล  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โรงเรียนทั่วประเทศญี่ปุ่นจึงหันมาเปิดในช่วงเดียวกันทั้งหมดคือเดือนเมษายน


เหตุผลหลักของการเปิดภาคการศึกษาเดือนเมษายน


เราพอสรุปได้ว่าเบื้องหลังของการที่โรงเรียนเปิดภาคการศึกษาเมื่อถึงเดือนเมษายนเป็นเพราะเกี่ยวกับการกำหนดปีงบประมาณของรัฐบาลนั่นเอง ซึ่งในช่วงเมจิระหว่างปี ค.ศ.1872 – 1886 ได้มีการเปลี่ยนแปลงปีงบประมาณถึง 3 ครั้งด้วยกัน (จากมกราคมถึงธันวาคม เป็น ตุลาคมถึงกันยายน เป็น กรกฎาคมถึงมิถุนายน) จนมาถึงยุคปัจจุบันที่ยึดหลักเดียวกับช่วงปีเมจิที่ 19 (ค.ศ. 1886) นั่นก็คือเริ่มนับปีงบประมาณตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนมีนาคมในปีถัดไป

เหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้เริ่มต้นในเดือนเมษายนเป็นเพราะว่าหากเป็นปีงบประมาณตามปฏิทินคือมกราคมถึงธันวาคมนั้น เพื่อที่จะสรุปปีงบประมาณเก่าได้ทันในปีถัดไปจำเป็นจะต้องสรุปให้เสร็จในเดือนธันวาคมของปีนั้น ๆ เพื่อเป็นหารหลักเลี่ยงความเร่งรีบดังกล่าวจึงขยับให้กลายเป็นวันที่ 1 เมษายนจนถึงวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไปนั่นเอง

การเริ่มต้นการศึกษาในเดือนเมษายน ส่วนใหญ่มักจะเริ่มกันตั้งแต่ต้นเดือน แต่วันที่ตายตัวมักจะขึ้นอยู่กับความสะดวกและความพร้อมของแต่ละโรงเรียน นอกจากนี้ พิธีเริ่มการศึกษาใหม่และเริ่มต้นทำงานที่ใหม่ก็มักจะกลายเป็นวันเดียวกัน โลกแห่งการทำงานจะเปิดประตูต้อนรับนักศึกษาที่จบใหม่พร้อมเข้าทำงาน ในช่วงเดียวกันกับที่โรงเรียนเองก็เปิดรับนักเรียนรุ่นใหม่ เพื่อเข้ามาทดแทนนักเรียนรุ่นเก่าที่จบการศึกษาออกไปเช่นกัน


ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงให้กลับมาเป็นเดือนมกราคม


หลายคนอาจจะมีคำถามว่าแล้วหลังจากนั้นประเทศญี่ปุ่นเคยพยายามเปลี่ยนให้กลับมาเริ่มที่เดือนมกราคมไหม เพราะหลังจากเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น ประเทศญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาจากประเทศเกษตรกรรม เข้าสู่ประเทศแห่งอุตสาหกรรม มีบริษัทน้อยใหญ่มากมายเกิดขึ้นแล้ว คำตอบก็คือ เคย

ช่วงโชวะที่ 37 (พ.ศ.2505) คุณคาคุเออิ ทานากะ ประธานพรรคเสรีประชาธิปไตยในขณะนั้นพยายามจะเปลี่ยนระบบงบประมาณประจำปีให้กลับมายังช่วงมกราคม แต่ว่ามีข้อกฎหมายที่ต้องเปลี่ยนแปลงมากจนเกินไป ในที่สุดจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เพราะอาจเกิดผลกระทบมากมาย ดังนั้นความเห็นที่จะเปลี่ยนช่วงเวลาของปีงบประมาณจึงถูกปัดตกไป

แม้ว่าบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะยังอิงการเริ่มต้นปีใหม่หรือปีงบประมาณใหม่ที่เดือนเมษายนอยู่ แต่ว่าตั้งแต่ปี ค.ศ.2015 เป็นต้นมา ก็เริ่มมีหลายบริษัทค่อย ๆ ขยับเวลาขึ้นมาเป็นเดือนมีนาคม และหลังจากนั้นจำนวนบริษัทก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เพราะมีบริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งบริษัทภายในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น และบริษัทญี่ปุ่นเองก็ค่อย ๆ ปรับมาที่เดือนมกราคมมากขึ้นเพื่อความเป็นสากล เพราะในต่างประเทศจะจบงบประมาณกันที่ปลายเดือนธันวาคมและเริ่มขึ้นงบประมาณใหม่ในช่วงมกราคม บางบริษัทจึงมีการเปลี่ยนแปลงตามมาตรฐานนั้น

แต่สำหรับโรงเรียนยังคงยึดหลังตามกฎหมายเดิมนั่นก็คือเริ่มต้นที่ 1 เมษายนและจบวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป


งานปฐมนิเทศ


New beginnings ฤดูใบไม้ผลิกับการเริ่มต้นใหม่

ภาพประกอบ : © FUMAKILLA LIMITED

พิธีการเปิดเรียนของญี่ปุ่นนั้น ถือเป็นงานที่ระลึกอย่างหนึ่งก็ว่าได้ เพราะเป็นวันของการเริ่มต้นใหม่ของเด็ก ๆ ทุกครัวเรือน และยังเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของครอบครัว เด็กนักเรียนจะได้ใส่ชุดยูนิฟอร์มใหม่และเข้าร่วมพิธีเปิดการศึกษาใหม่ ซึ่งหากเทียบกับประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ ประเทศเหล่านั้นไม่ได้มีพิธีเปิดการศึกษาอย่างจริงจังเท่าประเทศญี่ปุ่น กิจกรรมที่เกิดขึ้นก็มักจะเป็นการประกาศห้องเรียนใหม่ของนักเรียน การบอกว่าในปีการศึกษาใหม่จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักเรียนที่จะศึกษากับทางโรงเรียนเป็นระยะเวลาอีก 1 ปีถัดไป นอกจากนั้นตลอดหนึ่งปียังมีกิจกรรมมากมายให้นักเรียนร่วมสนุกกันเพื่อความเป็นหมู่คณะ เช่น กีฬาสี กิจกรรมทำประโยชน์ให้สังคม เป็นต้น


หากสลับการเปิดเรียนไปเป็นช่วงฤดูใบไม้ร่วงล่ะ?


ความจริงจังนี้เกิดขึ้นจริงเมื่อปี ค.ศ.2011มหาวิทยาลัยโตเกีย ได้ทำการศึกษาข้อดีและข้อเสียของการเปิดเรียนในช่วงฤดูใบไม้ร่วง เพื่อหาข้อเท็จจริงว่าการเปิดเรียนในช่วงใดจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนมากกว่ากัน แต่เมื่อเทียบข้อดีและข้อเสียแล้ว กลับกลายเป็นว่าการที่โรงเรียนเปิดช่วงเมษายนกลับดีอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างข้อดีของการเปิดเรียนในช่วงฤดูใบไม้ร่วง
– การเริ่มต้นการศึกษาจะเป็นสากล หากมีนักเรียนต่างชาติอยากเข้ามาศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น หรือนักเรียนชาวญี่ปุ่นอยากออกไปศึกษายังต่างประเทศ ก็จะไม่เสียเวลา สามารถเข้าเรียนต่อได้โดยง่าย
– ช่วงระยะเวลาหลังจนการศึกษาจนถึงช่วงรับเข้าทำงานนั้นจะยาวนานขึ้น ทำให้เกิดการกระจายความเสี่ยง นักศึกษาจบใหม่อาจมีโอกาสได้งานสูงขึ้น
– นักเรียนสามารถหลีกหนีการสอบเนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยในช่วงฤดูใบไม้ผลิได้ (อันนี้ไม่แน่ใจว่าข้อดีหรือข้อเสียนะเนี่ย)

ตัวอย่างข้อเสียของการเปิดเรียนในช่วงฤดูใบไม้ร่วง
– ช่วงเวลาการหางานจะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ดังนั้นหากเริ่มเรียนภายในช่วงนั้น จะทำให้นักศึกษาเสียสิทธิ์การหางานเพราะต้องมาลงเรียนแทน
– หากพิธีจบการศึกษาเป็นช่วงฤดูใบไม้ร่วง กว่าจะเริ่มเข้าทำงานในเดือนเมษายน ระหว่างนั้นจะเกิดเวลาว่าง หรือ gap time ทำให้เกิดการเสียเวลาและที่บ้านของนักเรียนอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลบุตรหลานมากขึ้น
– ที่สำคัญคือหากเปลี่ยนการเข้าเรียนใหม่ล่ะก็จะกระทบกับระบบทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่นเลยทีเดียว

New beginnings ฤดูใบไม้ผลิกับการเริ่มต้นใหม่

ภาพประกอบ : Photo by Lyndon Li on Unsplash

ดังนั้นเมื่อเทียบข้อดีและข้อเสียกันแล้ว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คงมีผลกระทบมากเกินกว่าแค่เปลี่ยนเวลาเริ่มเรียน แต่กระทบไปยังโครงสร้างอื่นของประเทศเลยทีเดียว ประเทศญี่ปุ่นจึงยังคงเริ่มต้นการศึกษา จบการศึกษาและเริ่มต้นทำงานกับบริษัทใหม่ในระยะเวลาเดียวกันนั่นเอง แต่ในอนาคตอันใกล้ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสากลก็เป็นได้


การเริ่มต้นใหม่พร้อมซากุระที่โปรยปราย


แน่นอนว่าภาพเบื้องหลังการถ่ายรูปในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างวันเปิดการศึกษาและจบการศึกษา หากสังเกตให้ดี รูปภาพของวันสำคัญเหล่านั้นมักจะมีดอกซากุระผลิบานและโปรยปรายเป็นฉากอยู่เบื้องหลังเสมอราวกับเป็นประเพณีหนึ่งของชาวญี่ปุ่นไปเสียแล้ว ดังนั้นซากุระอาจจะเป็นอีกหนึ่งสัญญะที่ทำให้ทุกคนได้รับรู้ว่าถึงเวลาของการเริ่มต้นใหม่อีกครั้งแล้วนะ จึงไม่แปลกที่ในบทเพลงจึงยึดเอาดอกซากุระเป็นตัวแทนความรู้สึกของการเริ่มใหม่ ความเศร้าที่จบลง และการเดินทางครั้งใหม่นั่นเอง


3 บทเพลงภาษาดอกไม้ บทเพลงว่าด้วยเรื่องซากุระคลิก

views