ในช่วงเวลาที่ทุกคนต้องเก็บตัวอยู่ที่บ้านแบบนี้ เรามีเมนูอาหารญี่ปุ่นที่ทำง่ายๆ ได้เองที่บ้าน เพียงแค่มีผลิตภัณฑ์จาก Yamamori ก็สามารถทำอาหารรสชาติแบบต้นตำรับแบบญี่ปุ่นได้!

วันนี้เราได้รวม 3 เมนูที่ใช้ น้ำสลัดงา  และ อีก 3 เมนูที่ใช้ ซอสเทอริยากิ มาแนะนำกันค่า ตามไปดูด้านล่างนี้ได้เลย!!!

มาเริ่มกัน  3 เมนู น้ำสลัดงา กันค่า

เมนูแรก คือ  น้ำสลัดงาผสมมะเขือเทศราดหมูชาบู 

ทราบไหมว่าผักที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลกคืออะไร ? คำตอบคือมะเขือเทศนั่นเอง ชาวตะวันตกมีสุภาษิตหนึ่งกล่าวไว้ว่า “หากรับประทานมะเขือเทศวันละลูก จะทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่ต้องพึ่งพาแพทย์” เนื่องจากในมะเขือเทศมีสารไลโคปีน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังช่วยให้ไขมันแตกตัว (ลดไขมันที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย) และช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในมะเขือเทศลูกเล็กๆ ซึ่งอุดมไปด้วยกรดซิตริก สารที่ให้รสเปรี้ยว เมื่อรับประทานแล้วทำให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย นอกเหนือจากการทานมะเขือเทศในสลัดแบบสดๆ แล้ว ยังสามารถนำไปทำน้ำผลไม้และซุปได้อีกด้วย มารับประทานมะเขือเทศในหลากหลายเมนูกันเถอะ !

วิธีทำ 

1.นำมะเขือเทศลูกเล็ก 10 ลูกมาปั่นรวมกับน้ำสลัดงาคั่วญี่ปุ่นยามาโมริ 3 ถ้วยใหญ่

2.ต้มน้ำในหม้อให้เดือดแล้วลวกหมูสไลด์ด้วยไฟอ่อน เมื่อสุกแล้วให้พักไว้

3.นำผักที่ชอบจัดใส่จานตามด้วยหมูที่ลวกไว้ และราดน้ำสลัดงาคั่วญี่ปุ่นลงไป

ถึงแม้น้ำสลัดงาจะมีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น แต่ก็ได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยก็มีน้ำสลัดงายามาโมริวางจำหน่ายเช่นกัน  เพียงเพิ่มรสชาติของมะเขือเทศเข้าไปในน้ำสลัดงาก็ทำให้ความเอร็ดอร่อยของสลัดเพิ่มพูน หรือจะรับประทานกับหมี่เย็นหรืออุด้งก็เข้ากันอย่างยิ่ง


เมนูที่ 2 คือ สลัดไก่ใส่กระเจี๊ยบ

แม้ว่ากระเจี๊ยบจะมีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา แต่สำหรับคนญี่ปุ่นแล้วกระเจี๊ยบเป็นผักที่ไม่ไกลตัวเลย คนญี่ปุ่นชอบอาหารที่มีความหนืด อย่างเช่นนัตโตะ ความเหนียวหนึบของกระเจี๊ยบนั้นเกิดจากส่วนประกอบของสารอาหารอย่างเพกทินและมิวซิน เพกทินช่วยเรื่องการทำงานของลำไส้ ป้องกันปัญหาท้องผูกและยังป้องกันโรคเบาหวานได้ด้วย สำหรับมิวซินนั้นช่วยปกป้องเยื่อเมือกที่อยู่ในกระเพาะอาหารและช่วยดูดซับโปรตีน สารอาหารทั้งสองอย่างนี้เหมาะสำหรับคนที่ใส่ใจเรื่องคลอเรสเตอรอลอย่างยิ่ง กระเจี๊ยบเป็นผักหน้าร้อน ทำให้เมื่อถึงฤดูหนาวของญี่ปุ่น มักจะเห็นกระเจี๊ยบจากไทยวางขายอยู่ตามท้องตลาด หากกระเจี๊ยบขนาดใหญ่ละก็ จะแข็งและทำให้สูญเสียรสชาติ เพราะฉะนั้นควรเลือกผลฝักที่มีขนาดกำลังดี ไม่ใหญ่เกินไป และมีสีเขียวเข้มเท่ากันทั้งฝัก

วิธีทำ 

1.ล้างผลกระเจี๊ยบให้สะอาด ทาเกลือและถอนขนอ่อนๆ ออกให้เกลี้ยงและล้างน้ำอีกครั้งหนึ่ง นำเข้าไมโครเวฟ อุ่นประมาณ 2-3 นาที และตัดตามแนวเฉียง

2.ใช้ส้อมจิ้มเนื้ออกไก่ให้เป็นรู หมักด้วยเหล้าสำหรับทำอาหารและเกลือ พันด้วยพลาสติกห่ออาหารนำไปอุ่น และทิ้งไว้ให้เย็น

3.ฉีกเนื้ออกไก่ออกเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมเข้ากับกระเจี๊ยบและน้ำสลัดงาคั่วญี่ปุ่นยามาโมริ สามารถผสมงาขาวเพิ่มได้ตามใจชอบ

ในกรณีที่นำกระเจี๊ยบไปต้มน้ำร้อน ให้ผสมเกลือลงในน้ำร้อนและต้มประมาณ 3 นาที สำหรับคนญี่ปุ่นบ้างก็หั่นแว่นแล้วนำไปจิ้มโชวยุรับประทานสดๆ หรือนำไปผสมกับนัตโตะแล้วทาน บ้างก็นำไปต้มในน้ำซุป ทำแกงกะหรี่หรือนำไปผัดก็ได้ สำหรับคนไทยมักนำไปทานคู่กับน้ำพริก กระเจี๊ยบนั้นเป็นผักที่มีคุณภาพสูงแถมยังรับประทานได้หลายแบบอีกด้วย


เมนูที่ 3 คือ  ราเมนสลัดข้าวโพดหวาน

แท้จริงแล้วข้าวโพดไม่ได้อยู่ในตระกูลผักเสียทีเดียว แต่ถูกปลูก และรับประทานในฐานะธัญพืชที่สำคัญราวกับข้าว และข้าวสาลี ข้าวโพดหวานนั้นมีรสชาติหวานเป็นหลัก มีทั้งวิตามินบีรวม วิตามินอี ธาตุคาเลียม แคลเซียม แมกนีเซียม และยังอุดมไปด้วยใยอาหาร มีคุณค่าทางอาหารเหมาะที่จะอยู่ในอาหารมื้อหลัก หรือรับประทานข้าวโพดแบบกระป๋องก็สะดวกไม่ใช่น้อย

วิธีทำ 

1.ลวกเส้นราเมน แล้วนำไปแช่ในน้ำเย็น ใช้กระชอนตักเส้นพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ

2.หั่นหัวหอมแดง มะเขือเทศ และผักสลัดขนาดใหญ่พอดีคำ

3.นำเส้นราเมนใส่ชาม ใส่ผักในข้อ 2 แล้วราดด้วยทูน่าและข้าวโพด เพิ่มสาหร่าย งาขาว หรือหัวหอม ท็อปปิ้งตามใจชอบและราดด้วยน้ำสลัดงาคั่วญี่ปุ่น ยามาโมริเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

เมื่อนำราเมนมาทำเป็นสลัดแล้ว ทำให้เราสามารถรับประทานผักได้เยอะขึ้น บวกกับความหวานของข้าวโพดยิ่งช่วยทำให้สลัดอร่อยขึ้นด้วย ขั้นตอนการทำน้ำซุปสำหรับราเมนนั้นเป็นเรื่องยาก แต่หากทำเป็นสลัดราเมนแล้วละก็เพียงใส่น้ำสลัดก็สามารถทานได้อย่างเอร็ดอร่อยแล้ว ซึ่งน้ำสลัดงาคั่วญี่ปุ่น ยามาโมรินั้นหอมกลิ่นงาชัดเจน เหมาะกับการรับประทานคู่กับเมนูนี้เป็นอย่างยิ่ง


ถัดมาคือ  3 เมนูที่ใช้ ซอสเทอริยากิ มีดังนี้ค่า

เมนูที่ 1  ลูกชิ้นห่อใบโอบะย่าง

ชาวไทยเมื่อเห็นใบโอบะ มักจะเรียกมันว่า “ใบชะพลูญี่ปุ่น” เนื่องด้วยรูปทรงที่เหมือนกัน และมักนำไปห่อเนื้อหรือผักแล้วกินสดๆ หรือจะนำไปย่างก็ได้ เช่นเดียวกันกับใบโอบะ แต่ใบโอบะนั้นจะนิ่มกว่าใบชะพลู แถมยังมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ คล้ายกับกลิ่นของใบกระเพราซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของชาวญี่นปุ่นอย่างมาก อีกทั้งยังมีคุณค่าทางสารอาหารสูง อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน แคลเซียม วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ และที่สำคัญใบโอบะนั้นมีประสิทธิภาพในการการฆ่าเชื้อโรคและแมลง จึงมักใช้กับพวกซาชิมิและของสดต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มพบเห็นที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตในไทยอยู่เนืองๆ

วิธีทำ 

1.นำหมูสับ (300 กรัม) หอมหัวใหญ่สับละเอียด มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน พร้อมปรุงรสด้วยน้ำซุปเข้มข้นของยามาโมริ และใส่มายองเนสเล็กน้อย

2.ปั้นเป็นรูปทรงตามต้องการ จากนั้นนำใบโอบะมาห่อแล้วนำลงไปย่างในกระทะ

3.เมื่อสุกแล้วให้ราดซอสเทอริยากิลงไปให้ชุ่ม จัดใส่จานเพื่อเตรียมรับประทาน

ใบโอบะนั้นแห้งกรอบง่ายจึงควรห่อด้วยฟิล์มถนอมอาหาร หรือห่อด้วยกระดาษที่ชุ่มน้ำแล้วค่อยนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น หากแช่ไว้ในแก้วน้ำแล้วปิดฝาทิ้งไว้ โดยเปลี่ยนน้ำทุกๆ 3 วัน ก็จะสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์  สำหรับใบโอบะที่แห้งเฉา หากนำไปแช่ในน้ำเย็นประมาณ 10 นาที ก็จะสามารถกลับมาเป็นใบไม้ที่มีชีวิตชีวาได้อีกครั้ง


เมนูที่ 2  แซลมอนและเห็ดเทอริยากิ

ปีนี้หน้าร้อนของประเทศญี่ปุ่นร้อนเสียยิ่งกว่าประเทศไทย ชาวญี่ปุ่นเลยตั้งหน้าตั้งตารอคอยอากาศเย็นของช่วงฤดูใบไม้ร่วงกัน  สำหรับฤดูใบไม้ร่วงนั้นเขาว่ากันว่าเป็นฤดูแห่งการเจริญอาหาร เนื่องจากเป็นฤดูที่ไม่ว่าผัก หรือผลไม้อะไรก็ล้วนอุดมสมบูรณ์ และมีรสชาติที่เอร็ดอร่อย ที่สำคัญคือเป็นฤดูกาลของเห็ดด้วย เห็ดฤดูกาลไหนก็อร่อยไม่เท่าเห็ดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในฤดูกาลนี้ เห็ดนั้นอุดมไปด้วยวิตามิน B ช่วยให้ระบบการทำงานของลำไส้มีประสิทธิภาพ ช่วยล้างสารพิษ และเหมาะกับคนที่อยากจะลดน้ำหนัก ยิ่งเมื่อรับประทานคู่กับปลาที่มีสาร EPA และ DHA แล้วล่ะก็สามารถช่วยเรื่องการการชะลอวัยได้อีกด้วย

วิธีทำ 

1.นำเกลือมาทาปลาแซลมอนทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า

2. ซอยหัวหอมใหญ่ และแครอทเป็นเส้น ใส่ลงในภาชนะทนความร้อน หรือกระดาษสำหรับทำอาหารพร้อมกับถั่วลันเตา และวางชิ้นปลาแซลมอนไว้ด้านบนและเทมิรินตามลงไปรอบๆ

3.ทำให้สุกด้วยไมโครเวฟ แล้วเทซอสเทอริยากิของยามาโมริราดลงบนปลาแซลมอนให้ท่วม

หากอุ่นด้วยไมโครเวฟจะใช้เวลาประมาณ 2-5 นาทีเท่านั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของไมโครเวฟและขนาดของปลาแซลมอน สำหรับผักนอกจากที่ใส่ไปข้างต้นแล้ว ยังสามารถเพิ่มกระหล่ำปลีหรือบล็อคโคลีลงไปได้ตามใจชอบ และหากใช้เห็ดหลากชนิดก็จะทำให้เมนูนี้ดูน่ารับประทานขึ้นไปอีก


เมนูที่ 3  มันเทศผัดหมูสไลซ์ผัดซอสเทริยากิ

มันเทศเป็นพืชที่เติบโตในอเมริกาเขตร้อนจากนั้นจึงเผยแพร่ผ่านมาทางยุโรปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จีนและมาถึงยังประเทศญี่ปุ่นเริ่มแรกมายังเมืองซะซึมะซึ่งในปัจจุบันคือจ.คาโกชิม่าคนญี่ปุ่นเลยเรียกมันเทศว่าซะซึมะอิโมะหลังจากผ่านการปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ทำให้มันเทศมีรสหวานราวกับของหวานผู้หญิงญี่ปุ่นส่วนใหญ่ชอบรับประทานมันเทศย่างไม่ใช่เพียงเพราะมันมีรสหวานอร่อยแต่ยังอุดมด้วยวิตามินซีใยอาหารและธาตุคาเลียมดีต่อร่างกายและในด้านของความสวยงาม

วิธีทำ 

1.มันเทศ (300กรัม) ล้างเปลือกให้สะอาดหันแว่นพอดีคำทำให้สะเด็ดน้ำหลังจากนั้นนำเข้าไมโครเวฟ2-3นาทีเพื่อให้มันเทศอ่อนตัว

2.เทน้ำมันลงในกระทะใส่หมูสไลซ์5ชิ้นมันเทศและถั่วผัดให้เข้ากัน

3.ราดยามาโมริซอสเทริยากิให้ทั่วแล้วจัดใส่จาน

อาหารที่มีรสชาติหวานมักจะมีรสหวานโดดเด่นและขาดความเค็มไปแต่สำหรับมันเทศรสหวานเมื่อนำมารับประทานคู่กับยามาโมริซอสเทริยากิที่มีรสหวานๆเค็มๆจึงเข้ากันได้ดีเลยทีเดียวมันเทศนั้นอาจจะปรุงต่างออกจากสูตรโดยนำไปตุ๋นในหม้อนาเบะแล้วราดด้วยซอสเทริยากิก็อร่อยไปอีกแบบ


 

views