Chindougu ศาสตร์ของสิ่งที่เรียกได้ว่า "เกือบจะ" มีประโยชน์

Chindougu ศาสตร์ของสิ่งที่เรียกได้ว่า “เกือบจะ” มีประโยชน์

หลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็นรูปภาพเหล่านี้มาแล้ว ญี่ปุ่นมีคำเรียกสิ่งเหล่านี้โดยเฉพาะว่า “ชินโดกุ” (Chindougu, 珍道具) ซึ่งมาจากคำว่า “Chin” (珍) ที่แปลว่า ประหลาด, แปลก กับคำว่า “Dougu” (道具) ที่แปลว่า เครื่องมือ, อุปกรณ์ จึงรวมกันเป็น “เครื่องมือแสนประหลาด”

Chindougu ศาสตร์ของสิ่งที่เรียกได้ว่า "เกือบจะ" มีประโยชน์

แต่ถ้าจะให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น สิ่งเหล่านี้คงเป็นอุปกรณ์ที่… เกือบแล้วล่ะ! เกือบจะดูมีประโยชน์แล้วล่ะ แต่ที่จริงไม่ต้องมีก็ได้ล่ะมั้ง

Chindougu ศาสตร์ของสิ่งที่เรียกได้ว่า "เกือบจะ" มีประโยชน์

โดยผู้ที่ตั้งศาสตร์นี้ขึ้นมาก็คือ คุณเคนจิ คาวาคามิ (Kenji Kawakami) อดีตกองบรรณาธิการนิตยสารรายเดือน Mail Order Life

และนี่คือตัวอย่างของสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกได้ว่า “ชินโดกุ” เช่น บัตเตอร์สติก (แท่งเนยสำหรับทาขนมปังรูปทรงกาวแท่ง), หมวกกล้องถ่ายรูป 360 องศา, พัดลมเป่าเส้นราเมง, แว่นสำหรับใส่เพื่อหยอดยาหยอดตา ฯลฯ

Chindougu ศาสตร์ของสิ่งที่เรียกได้ว่า "เกือบจะ" มีประโยชน์

เป็นศาสตร์ที่มีอะไรให้คาดไม่ถึงเยอะเลยนะเนี่ย

อ้างอิง
www.tofugu.com/japan


อ่าน “ครั้งแรกในประเทศไทยกับนิทรรศการคลังสยองจากนักเขียนแนวหน้าของญี่ปุ่น Junji Ito Horror House in Thailand 2023คลิก

views