“Bangkok Sequencity” ภาพถ่ายกรุงเทพฯ กับบรรยากาศที่เหมือนฉากในละคร
โดยนักแสดงชาวไทยและสถาปนิกชาวญี่ปุ่น
ตอนนี้ ผม Hiro (สถาปนิก, ช่างภาพ) และคุณไมเคิล (นักแสดง, ช่างภาพ) กำลังร่วมกันจัดงานนิทรรศการแสดงภาพถ่ายของกรุงเทพฯ ภายใต้ชื่องาน “Bangkok Sequencity” กันอยู่ครับ ผมเลยอยากถือโอกาสนี้ แบ่งปันความสวยงามของกรุงเทพฯ และรอยยิ้มของคุณไมเคิลระหว่างที่เป็นช่างภาพให้กับทุกคนได้เห็นกัน
ผมเองในฐานะสถาปนิกเริ่มคิดถึงเรื่องของสถาปัตยกรรมกับเมืองมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ในบรรดาเมืองต่าง ๆ ที่ผมเคยเดินทางไปในระหว่างชีวิตการทำงาน กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองในระดับต้น ๆ ที่ผมคิดว่าน่าสนใจ ในเมืองที่ดูคล้ายว่าจะเป็นระเบียบอย่างกรุงเทพฯ นี้ ในความดูคล้ายนันก็สามารถมองเห็น “พื้นที่ใช้ชีวิต” ได้ด้วยเช่นกัน
สนามฟุตบอลใต้สะพานยกระดับ
สถาปนิกมักจะชอบ “พื้นที่ใช้ชีวิต” ทั้งในเชิงสถาปัตยกรรมและเมือง สิ่งเหล่านี้มีพื้นฐานตั้งต้นมาจากสารอนินทรีย์ แต่การที่มีมนุษย์เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในนั้นและหลงเหลือร่องรอยเอาไว้เลยการมาเป็น “พื้นที่ใช้ชีวิต” สถาปนิกไม่ได้ต้องการที่จะออกแบบตึกหรืออาคารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็อยากจะออกแบบ “พื้นที่ใช้ชีวิต” ด้วย (และนั่นคงเป็นเหตุผลที่ทำให้สถาปนิกชอบพื้นที่ใช้ชีวิต)
บ้านที่สร้างเหนือน้ำที่ทำให้รู้สึกได้ถึงการดำรงชีวิต
ทำไมผมที่เป็นสถาปนิกถึงได้ไปถ่ายรูปกับดาราอย่างคุณไมเคิล? หนึ่งในหลาย ๆ เหตุผลก็คือ เขาเป็นช่างภาพ พร้อม ๆ กับการเป็นมืออาชีพในการออกแบบสารอินทรีย์ ที่เรียกว่า อารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งงานของเขาคือการแสดง คือการออกแบบอารมณ์ความรู้สึก นั่นจึงทำให้เขาสามารถอ่านอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่นได้ดีกว่าคนทั่วไป
ไมเคิลที่กำลังบันทึกภาพของกรุงเทพฯ
หลังจากที่ผมเห็นสไตล์ในการถ่ายรูปของเขาแล้ว รู้สึกว่ามันน่าสนใจมาก ๆ เลย ตอนที่เขาถ่าย เขาจะไม่กดชัตเตอร์ในทันที แต่เขาจะซึมซับสภาพแวดล้อมด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก่อน ค่อยเริ่มกดชัตเตอร์ ราวกับว่าเขาทำให้ตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในสภาพแวดล้อมนั้นก่อน หลังจากนั้นเขาจะเริ่มพูดคุยกับคนในพื้นที่นั้น คุยกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว (บางทีก็เป็นแมว)
เพราะว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมตรงนั้นไปแล้ว ได้มีการพูดคุยแม้เพียงเล็กน้อย แล้วรู้สึกถึงอารมณ์ของคน ๆ นั้น และนำความรู้สึกที่ได้รับใส่ลงไปในการถ่ายภาพ เลยทำให้ผมคิดว่าความสามารถในการอ่านอารมณ์ของเขานั้นน่าจะมาจากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของตัวเอง
ไมเคิลที่กำลังพูดคุยพร้อม ๆ กับทำความเข้าใจความรู้สึกและอารมณ์ของคนที่เขาคุยด้วย
จริง ๆ แล้วก่อนที่จะได้มีโอกาสออกมาถ่ายรูปกับเขา ผมรู้สึกว่าการเป็นสถาปนิกกับการเป็นนักแสดงนั้นเป็นอาชีพคนละสาย คนละแขนงกัน แต่หลังจากที่ได้คุยกันก็เห็นหลาย ๆ จุดที่เหมือนกันของอาชีพพวกเรา และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นคำว่า “Sequence” ซึ่งคำ ๆ นี้ สำหรับสถาปนิกแล้วคือเพื่อการสร้างพื้นที่ใช้ชีวิต สำหรับนักแสดงแล้วคือการสร้างเพื่อความรู้สึกของคนดู
ในครั้งนี้ผมกับไมเคิลจึงได้ลองสร้างอีกหนึ่ง “Sequence” ขึ้นมา โดยการถ่าย “Scene” ที่สื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกในกรุงเทพฯ โดยเหมือนการสร้างละครหนึ่งเรื่อง ผ่านมุมมองของการเป็นสถาปนิกและนักแสดง
เงาของแสงจากพระอาทิตย์ตกที่สะท้อนกับตึก เป็นอีกหนึ่งความ dramatic ในชีวิตประจำวัน
“Scene” ของกรุงเทพฯ ที่ผมจับภาพมาในครั้งนี้ ล้วนเป็นภาพพื้นที่ที่เรียบง่าย สงบสุข ส่วนพื้นที่เมืองของญี่ปุ่นนั้นมีการวางแผน เตรียมการเป็นอย่างดีและปลอดภัย ซึ่งมีบางอย่างที่ทำให้ความเรียบง่ายนี้หายไป ผมคิดว่าอีกหนึ่งเหตุผลที่คนญี่ปุ่นชอบมาเที่ยวเมืองไทยก็คือ ความง่าย ๆ และสงบสุข นี่ล่ะครับ
พื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านบนน้ำคือ “ขุมทรัพย์ของพื้นที่ใช้ชีวิต”
ผมคิดว่าดีมากจริง ๆ ครับที่ผมได้มีโอกาสถ่ายรูปกรุงเทพฯ ในครั้งนี้ ทำให้เจอกับพื้นที่ที่มีความงดงาม และได้นำมาแบ่งปันให้กับทุกคน เป็นประสบการณ์ที่ดีจนไม่มีอะไรมาทดแทนได้เลยครับ
ผมอยากให้ทุกคนลองออกไปเดินเล่น หามุมใหม่ ๆ ในเมืองของคุณดูครับ และผมเชื่อว่าคุณจะได้เจอกับ “Scene” ที่สวยงามมาก ๆ แน่นอน และหากผู้อ่านคนไหนมีเวลา อยากเห็นว่าภาพถ่ายของผมกับ “Scene” ที่ใส่อารมณ์ความรู้สึกของไมเคลิลงไปด้วยนั้นจะออกมาเป็น “Sequence” แบบไหน สามารถแวะไปชมผลงานที่ราวกับละครของพวกเราได้นะครับ
“Bangkok Sequencity”
สถานที่ : bridge art space gallery ชั้น 3
(เพียง 150 เมตรจากสถานี BTS สะพานตากสิน ใช้เวลาเดินประมาณ 3 นาที)
จัดแสดง : 16 – 22 มิถุนายน ค.ศ.2021
เวลาทำการ : 12.00- 20.00 น. (ปิดวันจันทร์)
ค่าเข้าชม : เข้าชมฟรี!
รายละเอียดงาน : www.facebook.com/events/1210850965984188
“OWOS : Toyama Glass Art Museum” คลิก
“Tadao Ando สถาปนิกรุ่นบุกเบิกของญี่ปุ่น” คลิก